ธรรมนิพนธ์

Vajiranyanasamvara

Somdet Phra Sangharajachao Krom Luang Vajiranyanasamvara

Dhamma (Thai)

๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า

เรื่องพระพุทธประวัติ หรือเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธกิจที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญต่อโลกนั้น มีเรื่องน่ารู้น่าศึกษามากมาย หากได้พินิจศึกษาอย่างกว้างขวางแล้ว ก็ได้รับประโยชน์เป็นอันมาก ทั้งในทางคดีโลกและคดีธรรม เรื่อง ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า นี้มีทั้งเรื่องพระพุทธประวัติ คำอธิบายธรรมของพระพุทธศาสนา และเรื่องราวทางพระพุทธศาสนาทั้งอดีตและปัจจุบันผสมกันอยู่ โดยมุ่งแสดงพระพุทธกิจอันเป็นหิตานุหิตประโยชน์ต่อมวลสรรพสัตว์ให้เป็นที่เข้าใจสำหรับผู้อ่านทั่วไปเป็นสำคัญ

พระนิพนธ์

การนับถือพระพุทธศาสนา

ปาฐกถานี้ มุ่งสำรวจการนับถือพระพุทธศาสนาว่าเป็นอย่างไร และควรจะเป็นอย่างไร แสดงหลักธรรมเฉพาะที่ใกล้การปฏิบัติขั้นสามัญแต่บางข้อ ไม่ได้มุ่งแสดงปรมัตถะ หรืออรรถอันสุขุม แต่ก็แสดงตามความสามารถ

แสดง ณ พุทธสมาคม วันเสาร์ที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๔

ปาฐกถา

การนับถือพระรัตนตรัยของชาวพุทธ

เป็นบทหนึ่งจากชุด "หลักพระพุทธศาสนา" ซึ่งเป็นเรื่องที่ใช้เทศน์สอนแก่เด็กนักเรียน ซึ่งไม่เคยมีความรู้เรื่องพระพุทธศาสนามาก่อน เป็นเรื่องที่ควรรู้ควรปฏิบัติสำหรับผู้รู้พระพุทธศาสนาและผู้ที่ไม่เคยรู้พระพุทธศาสนา ก็สามารถอ่านเข้าใจได้ไม่ยาก

พระนิพนธ์

การบริหารทางจิตสำหรับผู้ใหญ่

เรื่องบริหารทางจิตสำหรับผู้ใหญ่นี้ มุ่งแสดงธรรมแบบง่าย ๆ เพื่อใช้บำรุงรักษาจิตตามวิธีทางพระพุทธศาสนา ใช้ได้ทั้งผู้ใหญ่ทั้งเด็ก แต่ถ้อยคำที่ใช้แสดงอาจเหมาะสำหรับผู้ใหญ่อ่าน ถึงดังนั้น เมื่อผู้ใหญ่อ่านแล้วก็อ็อาจแนะนำเด็กต่อไปได้ด้วยวิธีและถ้อยคำที่เด็กอาจเข้าใจ น่าคิดว่า ถ้าเด็กและผู้ใหญ่พากันเข้าใจธรรมตามหลักแนวพระพุทธศาสนามากขึ้น จะเกิดความสงบสุขความเจริญในส่วนตนและส่วนรวมมากขึ้น

พระนิพนธ์

การบริหารทางจิตสำหรับผู้ใหญ่

เรื่อง "บริหารทางจิต" เกิดขึ้นจากการบรรยายธรรมทางวิทยุ อ.ส. เมื่อปี ๒๕๑๑ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดรายการบริหารทางจิตเป็นประจำทุกเช้าวันอาทิตย์ และเมื่อดำเนินรายการครบปีแล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมคำบรรยายสำหรับผู้ใหญ่พิมพ์เป็นเล่มขึ้นพระราชทานในวันวิสาขบูชา พ.ศ. ๒๕๑๒ และ พ.ศ. ๒๕๑๓ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕

การบริหารทางจิต สำหรับผู้ใหญ่เล่มนี้ รวบรวมคำบรรยาย ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๑ - ๒๕๒๓

พระนิพนธ์

การปฏิบัติกรรมฐาน

สมาธิก็ดี จิตตสิกขาก็ดี หมายถึงการปฏิบัติทำจิตให้เป็นสมาธิ ด้วยวิธีสละอารมณ์ทั้งหลายที่มีอยู่เป็นอันมากให้เหลือเพียงอารมณ์เดียว ดังที่เรียกว่า เอกัคคตาของจิตนั้นดังนี้ เพราะฉะนั้น สมถกรรมฐานตั้งการงานคือ สมถะ ก็ได้แก่การที่ปฏิบัติสละอารมณ์ทั้งหลาย ทำจิตให้สงบจากอารมณ์ทั้งหลาย ให้จิตมีอารมณ์เป็นอันเดียวดังที่เรียกว่าสมาธินั้นและการปฏิบัติดังนี้ก็ชื่อว่าเป็นการทำสมาธิด้วย การปฏิบัติในจิตตสิกขาด้วย การปฏิบัติมำสมถกรรมฐานด้วย

พระนิพนธ์

การศึกษาเพื่อความเป็นคนที่สมบูรณ์

การศึกษาเป็นเรื่องที่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ทรงสนพระทัยมาตลอดพระชนม์ชีพทั้งที่เป็นการศึกษาส่วนพระองค์ทั้งที่เป็นการศึกษาทั่วไป ในส่วนที่เป็นพระนิพนธ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ฯ ได้ทรงนิพนธ์เกี่ยวกับการศึกษาไว้หลายเรื่อง พระโอวาท หรือธรรมบรรยายในโอกาสต่าง ๆ ก็ได้ทรงกล่าวไว้มาก "การศึกษาเพื่อความเป็นคนที่สมบูรณ์" นี้สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ฯ ทรงมีทรรศนะและวิสัยทัศน์ทางการศึกษา  ทั้งทางโลกและทางธรรม จึงเป็นเรื่องที่ทั้งเยาวชนและผู้ใหญ่ควรจักได้อ่านศึกษาและพิจารณา

พระนิพนธ์

การปฏิบัติทางจิต

หนังสือเล่มนี้เดิมเป็นเพียงเสียงที่พูดในการอบรมกัมมัฎฐาน ที่วัดบวรนิเวศวิหาร การอบรมกัมมัฎฐานเป็นการสร้างที่พึ่งอันร่มเย็นให้แก่จิตใจ ถ้าได้ตั้งใจใฝ่หาความรู้และตั้งใจปฏิบัติตามสมควรแล้ว จะได้รับความสุขอย่างหนึ่งซึ่งต่างจากความสุขทั้งหลายที่เคยได้รับมาแล้ว แต่การอบรมเรื่องนี้จะไม่อาศัยแบบหาได้ไม่ จำต้องมีแบบปฏิบัติจึงได้มีการสวดพระสูตรที่เป็นต้นแบบปฏิบัติของพระพุทธเจ้า พระสูตรที่เป็นหลักปฏิบัติสำคัญคือ มหาสติปัฏฐานสูตร ได้สวดฟังกันเป็นหลักปฏิบัติ

การอบรมกัมมัฎฐาน

เกิดมาทำไม และเบญจคาถา

"เราเกิดมาทำไม"​ ปัญหานี้ถ้าตั้งขึ้นคิดก็น่าจะจนเพราะขณะเมื่อทุกคนเกิดนั้นไม่มีใครรู้ มารู้เมื่อเกืดและพอรู้เดียงสาแล้ว มีตัวเราขึ้นคนหนึ่งในโลก แต่ทุก ๆ คนย่อมมีความไม่อยากตาย กลัวความตาย แยากจะดำรงชีวิตอยู่นานเท่านาน นอกจากนี้ยังมีความอยากในสิ่งต่าง ๆ อีกมากมาย คล้ายกับว่าความที่เกิดมานี้ไม่อยู่ในอำนาจของตนเอง มีอำนาจอย่างหนึ่งทำให้เกิดมา ตนเองจึงไม่มีอำนาจ  หรือไม่มีส่วนที่จะตั้งวัตถุประสงค์แห่งความเกิดของตนว่า เกิดมาเพื่อทำสิ่งนั้นสิ่งนี้หรือเพื่อเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ .......

พระนิพนธ์

คติธรรมศราทธพรตเทศนาและฆราวาสธรรม

พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้นดังก้องโลกมานับเป็นเวลาเกือบสามพันปีมาแล้ว แต่ไม่ใช่ทุกคนในโลกที่ได้รับความสุขโดยตรงจากพระธรรมนี้ เพราะไม่ใช่ทุกคนที่รู้จักพระธรรมนี้และมีความเพียรปฏิบัติตาม ความสุขไม่เกิดก็เพราะไม่ปฏิบัติ เปรียบดังมียาแก้ไขอยู่มากมายในบ้านในเรือน ผู้เป็นไข้ไม่นำยานั้นมารับประทาน ก็จะหายไข้ไม่ได้ แม้ว่ายาแก้ไข้นั้นจะเป็นยาที่ดีมีสรรพคุณในการแก้ไข้อย่างได้ผลจริง ความสำคัญของยาแก้ไข้จึงหาได้อยู่เพียงที่เป็นยาดีมีสรรพคุณจริงเท่านั้นไม่ แต่ต้องอยู่ที่ผู้เป็นไข้ต้องรับประทานยานั้นด้วย ผลจึงจะปรากฏเป็นความหายจากไข้ได้ .......

พระนิพนธ์

ความเข้าใจเรื่องกรรม

จากหนังสือชุด ความเข้าใจเรื่องชีวิต ....

ชีวิตทุกคนเกี่ยวข้องกับกรรม ทั้งที่เป็นกรรมเก่า ทั้งที่เป็นกรรมใหม่ จะกล่าวว่าชีวิตเป็นผลของกรรมก็ได้ คำว่ากรรมเก่ากรรมใหม่นี้ อธิบายได้หลายระยะ เช่น ระยะไกล กรรมที่ทำแล้วในอดีตชาติ เรียกว่ากรรมเก่า กรรมที่ทำแล้วในปัจจุบันชาติ เรียกว่ากรรมใหม่ อธิบายอย่างนี้อาจไกลมากไป จนคนที่ไม่เชื่ออดีตชาติเกิดความคลางแคลงไม่เชื่อ จึงเปลี่ยนมาอธิบายระยะใกล้ว่าในปัจจุบันชาตินี้แหละ กรรมที่ทำไปแล้วตั้งแต่เกิดมาเป็นกรรมเก่า ส่วนกรรมที่เพิ่งจะทำเสร็จลงไปใหม่ ๆ เป็นกรรมใหม่ แม้กรรมที่จะเข้าใจหรือที่จะทำก็เป็นกรรมใหม่ เพราะฉะนั้น การที่จะเข้าใจเรื่องชีวิตได้ดี จำต้องทำความเข้าใจเรื่องกรรมให้ดีด้วย

พระนิพนธ์

ความเข้าใจเรื่องกรรม

ชุดที่พิมพ์เนื่องในงานพระศพเพื่อแจกเป็นปฏิการแก่สาธุชนผู้มาถวายความเคารพพระศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร

กรรมคืออะไร จําต้องทําความเข้าใจให้ลึกซึ้งเข้าไปอีก พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ แปลความว่า “เรากล่าวเจตนา (ความจงใจ) ว่าเป็นกรรม เพราะ คนจงใจ คนจงใจ คือมีใจมุ่งแล้ว จึงทําทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง ทางใจบ้าง” ฉะน้ัน กรรมคือกิจที่บุคคลจงใจทําหรือทําด้วยเจตนา ถ้าทําด้วยไม่มีเจตนาไม่เรียกว่ากรรม อย่างเช่นไม่มีเจตนาเหยียบมดตาย ไม่เป็นกรรมคือปาณาติบาต ต่อเมื่อเจตนาจะเหยียบให้ตาย จึงเป็นกรรมคือปาณาติบาต แต่เมื่อจัดอย่างละเอียด สิ่งที่ทําด้วยไม่มีเจตนา ท่านจัดเป็นกรรมชนิด หนึ่ง เรียกว่ากรรมสักว่าทํา เพราะอาจให้โทษได้เหมือนกัน เหมือนอย่างท่ีกฎหมายถือว่าผิดในฐานะประมาท

พระนิพนธ์

ความเข้าใจเรื่องจิต

จากหนังสือชุด ความเข้าใจเรื่องชีวิต

ความรู้เรื่อง จิต ทางพระพุทธศาสนา เป็นเรื่องควรศึกษาให้รู้ เพราะการปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้า ย่อมเนื่องด้วยจิตเป็นข้อสำคัญ พระพุทธวจนะที่สั่งสอนเกี่ยวกับจิตเป็นส่วนใหญ่ จึงจะได้กล่าวถึงเรื่องจิต จากคำสอน ในพระพุทธศาสนาไปโดยลำดับ

พระนิพนธ์

ความเข้าใจเรื่องชีวิต

สรุปความในตอนนี้ว่า เรื่องตายเกิดหรือไม่เกิด ใครจะเชื่ออย่างไรไม่สำคัญ ข้อสำคัญที่ว่าความจริงเป็นอย่างไร ตายแล้วเกิดอีกหรือไม่เกิด ปัญหาจึงมีว่า ใครจะเป็นผู้บอกได้ จะรู้จริงได้อย่างไร ตอบได้ว่า ผู้บอกมีอยู่แล้ว คือ พระพุทธเจ้า ท่านตอบไว้ในหลักอริยสัจจ์สี่ ถอดความมาสั้น ๆ ว่า มีตัณหา (ความอยาก) ก็มีชาติ (ความเกิด) สิ้นตัณหาก็สิ้นชาติ ถอดคำออกมาให้เข้าเรื่องนี้ว่า ยังมีตัณหาตายแล้วเกิดอีก สิ้นตัณหาแล้วไม่เกิด ท่านบอกไว้ดังนี้ แต่จะรู้จริงด้วยตนเองได้นั้น มีผู้แนะว่าต้องทำสมาธิจนได้ดวงตาชั้นใน มองเห็นความจริงได้ด้วยตนเอง จึงจะสิ้นสงสัย ถ้ายังไม่ได้ดวงตาชั้นใน อย่างดีก็ต้องอาศัยศรัทธาต่อพระพุทธเจ้าไปก่อน

พระนิพนธ์

ความเข้าใจเรื่องชีวิต

สรุปความในตอนนี้ว่า เรื่องตายเกิดหรือไม่เกิด ใครจะเชื่ออย่างไรไม่สำคัญ ข้อสำคัญที่ว่าความจริงเป็นอย่างไร ตายแล้วเกิดอีกหรือไม่เกิด ปัญหาจึงมีว่า ใครจะเป็นผู้บอกได้ จะรู้จริงได้อย่างไร ตอบได้ว่า ผู้บอกมีอยู่แล้ว คือ พระพุทธเจ้า ท่านตอบไว้ในหลักอริยสัจจ์สี่ ถอดความมาสั้น ๆ ว่า มีตัณหา (ความอยาก) ก็มีชาติ (ความเกิด) สิ้นตัณหาก็สิ้นชาติ ถอดคำออกมาให้เข้าเรื่องนี้ว่า ยังมีตัณหาตายแล้วเกิดอีก สิ้นตัณหาแล้วไม่เกิด ท่านบอกไว้ดังนี้ แต่จะรู้จริงด้วยตนเองได้นั้น มีผู้แนะว่าต้องทำสมาธิจนได้ดวงตาชั้นใน มองเห็นความจริงได้ด้วยตนเอง จึงจะสิ้นสงสัย ถ้ายังไม่ได้ดวงตาชั้นใน อย่างดีก็ต้องอาศัยศรัทธาต่อพระพุทธเจ้าไปก่อน

พระนิพนธ์

ความเข้าใจเรื่องชีวิต (2557)

สรุปความในตอนนี้ว่า เรื่องตายเกิดหรือไม่เกิด ใครจะเชื่ออย่างไรไม่สำคัญ ข้อสำคัญที่ว่าความจริงเป็นอย่างไร ตายแล้วเกิดอีกหรือไม่เกิด ปัญหาจึงมีว่า ใครจะเป็นผู้บอกได้ จะรู้จริงได้อย่างไร ตอบได้ว่า ผู้บอกมีอยู่แล้ว คือ พระพุทธเจ้า ท่านตอบไว้ในหลักอริยสัจจ์สี่ ถอดความมาสั้น ๆ ว่า มีตัณหา (ความอยาก) ก็มีชาติ (ความเกิด) สิ้นตัณหาก็สิ้นชาติ ถอดคำออกมาให้เข้าเรื่องนี้ว่า ยังมีตัณหาตายแล้วเกิดอีก สิ้นตัณหาแล้วไม่เกิด ท่านบอกไว้ดังนี้ แต่จะรู้จริงด้วยตนเองได้นั้น มีผู้แนะว่าต้องทำสมาธิจนได้ดวงตาชั้นใน มองเห็นความจริงได้ด้วยตนเอง จึงจะสิ้นสงสัย ถ้ายังไม่ได้ดวงตาชั้นใน อย่างดีก็ต้องอาศัยศรัทธาต่อพระพุทธเจ้าไปก่อน

พระนิพนธ์

more Books

Top of page