Somdet Phra Wanarat Biography

BIOGRAPHY

SOMDET PHRA WANARAT

IMG_1231

QUICK FACTS

เกิด

๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๙

บรรพชา

๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๑

อุปสมบท

๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๙

 

เจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต)

วัดบวรนิเวศวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ปีพุทธศักราช ๒๕๖๓

ประวัติ

เจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต)

 

สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) มีนามเดิมว่า “จุนท์ พราหมณ์พิทักษ์” เกิดเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๔๗๙ ณ บ้านเกาะเกตุ ต.ชำราก อ.เมืองตราด จ.ตราด สำเร็จการศึกษาชั้นประถมปีที่ ๔ จากโรงเรียนวัดคิรีวิหาร ต.ชำราก อ.เมืองตราด จ.ตราด จากนั้น ได้เข้าพิธีบรรพชาเมื่อวันพุธที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๔๙๑ ณ วัดคิรีวิหาร ต.ชำราก อ.เมืองตราด จ.ตราด โดยมีพระวินัยบัณฑิตเป็นพระอุปัชฌาย์ กระทั่งอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๘ กรกฎาคม ๒๔๙๙ ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑๓) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระวินัยบัณฑิต (ถาวร ฐานุตฺตโร) วัดคิรีวิหาร จ.ตราด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูวิสุทธิธรรมภาณ (แจ่ม ธมฺมสาโร) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังอุปสมบทได้ศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค จากสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร 

เจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต ป.ธ.๙) ได้ละสังขาร เมื่อวันที่ ๑๕ มีค ๒๕๖๕ เวลา ๑๔.๒๒ น. ด้วยอาการสงบ สิริอายุ ๘๕ ปี ๖๕ พรรษา ด้วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ณ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กรุงเทพมหานคร

ชาติภูมิ

นามเดิม จุนท์ นามสกุล พราหมณ์พิทักษ์ นามฉายา พฺรหฺมคุตฺโต  อายุ ๘๔  พรรษา ๖๕  เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑ ค่ำ  เดือน ๑๑  ปีชวด ตรงกับที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๔๗๙  เวลา ๐๗.๓๐ น.  ณ บ้านเกาะเกตุ  ตำบลชำราก อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด บิดาชื่อ นายจันทร์  พราหมณ์พิทักษ์ มารดาชื่อ นางเหล็ย พราหมณ์พิทักษ์ (รัตนเศียร)

บรรพชา  

อายุครบ ๑๒ ปี  ได้บรรพชาเมื่อวันพุธ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีชวด ตรงกับวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๑ ณ วัดคิรีวิหาร ตำบลชำราก อำเภอเมือง จังหวัดตราด มีพระวินัยบัณฑิต (ถาวร ฐานุตฺตโร ป.ธ.๗) เจ้าอาวาสวัดคิรีวิหาร เป็นพระอุปัชฌายะ (ภายหลังได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชวินัยเวที  มรณภาพเมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๓) มีพระใฮ้ นิรงฺคโณ เป็นพระศีลาจารย์                        

วันจันทร์ที่ ๒๘ พฤษภาคม  พ.ศ.๒๔๙๔  พระอุปัชฌายะได้ส่งมาศึกษาต่อที่วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร  พร้อมกับพระทองดี  อนาวิโล  (พระธรรมวุฒาจารย์  เจ้าอาวาสวัดวรดิต ถาราม) โดยได้ลงเรือสำราญวารี ที่บ้านท่าเรือจ้าง จังหวัดตราด เดินมาถึงวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๔  และมาพักอยู่กับพระครูประสาทพุทธปริตร (แจ่ม ธมฺมสาโร ภายหลังได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระครูวิสุทธิธรรมภาณ เป็นพระราชาคณะที่ พระมหานายก และพระราชบัณฑิต ตามลำดับ  มรณภาพเมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๒๘)

อุปสมบท  

อายุครบ ๒๐ ปี  ได้อุปสมบทเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๘  ปีวอก  ตรงกับวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๙ เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมีสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (สุจิตฺตมหาเถร)  เป็นพระอุปัชฌายะ (ต่อมาทรงได้รับพระราชทานสถาปนาพระอิสริยยศ และพระฐานันดรศักดิ์เป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์  สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๑)  มีพระวินัยบัณฑิต (ถาวร ฐานุตฺตโร)  เจ้าอาวาสวัดคิรีวิหาร  จังหวัดตราด  เป็นพระกรรมวาจาจารย์   มีพระครูวิสุทธิธรรมภาณ (แจ่ม  ธมฺมสาโร  ป.ธ.๔)  เป็นพระอนุสาวนาจารย์  

การศึกษา (วิทยฐานะ)

ได้เข้ารับการศึกษาเบื้องต้น ณ โรงเรียนวัดคิรีวิหาร ตำบลชำราก อำเภอเมือง จังหวัดตราด สำเร็จวิชาสามัญศึกษา (ประถม ๔) ในปี พ.ศ.๒๔๙๑ หลังจากบรรพชาแล้วได้ศึกษาพระปริยัติธรรม โดยสอบได้ชั้นต่าง ๆ ตามลำดับ  ดังนี้

พ.ศ.๒๔๙๑         สอบได้นักธรรมชั้นตรี สำนักเรียนวัดคิรีวิหาร  จังหวัดตราด

พ.ศ.๒๔๙๒        สอบได้นักธรรมชั้นโท สำนักเรียนวัดคิรีวิหาร  จังหวัดตราด                    

พ.ศ.๒๔๙๕        สอบได้นักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร

พ.ศ.๒๔๙๘        สอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร

พ.ศ.๒๔๙๙         สอบได้เปรียญธรรม ๔ ประโยค สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร

พ.ศ.๒๕๐๐        สอบได้เปรียญธรรม ๕ ประโยค สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร

พ.ศ.๒๕๐๑        สอบได้เปรียญธรรม ๖ ประโยค สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร

พ.ศ.๒๕๐๖        สอบได้เปรียญธรรม ๗ ประโยค สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร

พ.ศ.๒๕๐๗        สอบได้เปรียญธรรม ๘ ประโยค สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร

พ.ศ.๒๕๑๕        สอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร

งานการปกครอง

พ.ศ.๒๕๑๗      เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร

พ.ศ.๒๕            เป็นกรรมการวัดบวรนิเวศวิหาร

พ.ศ.๒๕๓๖      เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร-สมุทรปราการ (ธ)  (๒๘ ตุลาคม)

พ.ศ.๒๕๓๗      เป็นกรรมการบริหารคณะธรรมยุต

พ.ศ.๒๕๓๗      เป็นเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร-สมุทรปราการ (ธ)  (๒๙ กรกฎาคม)

พ.ศ.๒๕๓๙      เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดอาวุธวิกสิตาราม  (ถึง พ.ศ.๒๕๔๒)

พ.ศ.๒๕๔๐       เป็นรองเจ้าคณะภาค ๔-๕-๖-๗ (ธ)   (๒๗ มิถุนายน)

พ.ศ.๒๕๔๑       เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดพุทธบูชา  (ถึง พ.ศ.๒๕๔๒)

พ.ศ.๒๕๔๒      เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม

พ.ศ.๒๕๔๓      เป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ.๒๕๔๕      เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดธาตุทอง  (ถึง พ.ศ.๒๕๔๙)

พ.ศ.๒๕๔๖      เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดตรีทศเทพ  (๑๙ ธันวาคม)

พ.ศ.๒๕๔๘      เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี (ธ)

พ.ศ.๒๕๔๘      เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดจันทน์กะพ้อ จ.ปทุมธานี

พ.ศ.๒๕๕๐      เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดนรนาถสุนทริการาม  (๑๕ พฤษภาคม)

พ.ศ.๒๕๕๐      เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต  (๒๘ มิถุนายน)

พ.ศ.๒๕๕๑      เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม  (๓๑ ตุลาคม)

พ.ศ.๒๕๕๕      เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดวชิรธรรมาราม  จ.พระนครศรีอยุธยา

พ.ศ.๒๕๕๖      เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร  (๒๔ ตุลาคม)

พ.ศ.๒๕๕๘      เป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร  (๒๓ ธันวาคม)

พ.ศ.๒๕๕๘      เป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต  (๒๓ ธันวาคม)

พ.ศ.๒๕๖๐       เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต  (๒๑ มิถุนายน)

พ.ศ.๒๕๖๑       เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดรัตนวนาราม จ.ตราด  (๑๔ กันยายน)

งานการศึกษา

พ.ศ.๒๕๐๐       เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ประจำสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร

พ.ศ.๒๕๐๐       เป็นกรรมการสนามหลวง แผนกธรรม

พ.ศ.๒๕๐๑       เป็นกรรมการสนามหลวง แผนกบาลี

พ.ศ.๒๕๒๗     เป็นผู้อำนวยการศึกษา สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร

พ.ศ.๒๕๔๒      เป็นแม่กองธรรมสนามหลวง

พ.ศ.๒๕๔๒      เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ   มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

พ.ศ.๒๕๔๖      เป็นรองประธานกรรมการฝ่ายศาสนศึกษา ของมหาเถรสมาคม

พ.ศ.๒๕๕๓      เป็นอุปนายกสภามหาวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

พ.ศ.๒๕๕๔      เป็นประธานกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรม  แผนกสามัญศึกษา

พ.ศ.๒๕๕๕      เป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการปรับปรุงหลักสูตรธรรมศึกษา

พ.ศ.๒๕๕๘      เป็นเจ้าสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร

พ.ศ.๒๕๕๙      เป็นประธานที่ปรึกษาแม่กองธรรมสนามหลวง

พ.ศ.๒๕๖๒      เป็นประธานกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรม

พ.ศ.๒๕๖๓      เป็นประธานกรรมการบริหารกองทุนเผยแผ่พระธรรมในพระพุทธศาสนา

หน้าที่พิเศษ

  • เป็นกรรมการชำระพระไตรปิฎก ฉบับเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ  ๖๐ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  • เป็นกรรมการชำระอรรถกถา ฉบับเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ  ๖๐ พรรษา สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ
  • เป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการโครงการชำระพระไตรปิฎก และอรรถกถาแปล  ฉบับเฉลิมพระชันษา ๙๐ ปี  เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร  สมเด็จพระสังฆราช   สกลมหาสังฆปริณายก
  • เป็นผู้แสดงพระธรรมเทศนาในการทรงบำเพ็ญพระราชกุศล, งานพระราชพิธีฯ ในบางโอกาส
  • เป็นองค์แสดงธรรมเทศนาในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและตามวาระ ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร
  • เป็นผู้ถวายการสอนพระธรรมวินัย แด่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในคราวทรงผนวช เสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร  เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๑
  • เป็นประธานคณะกรรมการตำราและวิชาการ มหามกุฏราชวิทยาลัย
  • สนองงานถวายเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวรฯ ที่ได้รับพระบัญชาในบางโอกาส
  • เป็นประธานกรรมการฝึกอบรมพระนักเทศน์ (ธ)
  • เป็นประธานกรรมการฝึกอบรมพระอุปัชฌาย์ (ธ)
  • เป็นผู้บรรยายอบรมความรู้ปฏิทินปักขคณนา แก่พระสังฆาธิการคณะธรรมยุต
  • เป็นประธานที่ปรึกษาโครงการ “หมู่บ้านรักษาศีล ๕”

การศาสนาในต่างประเทศ

พ.ศ.๒๕๕๑  -  เดินทางไปสาธารณรัฐประชาชนจีน ตามคำอาราธนาของเอกอัครราชทูตไทย ในพิธีวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างสถานทูตไทยแห่งใหม่ ณ กรุงปักกิ่ง  พร้อมคณะพระสงฆ์อีก ๘ รูป  โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จทรงเป็นประธานวางศิลาฤกษ์  และได้เยี่ยมชมการพระศาสนาภายในกรุงปักกิ่ง

พ.ศ.๒๕๕๔ -  เดินทางไปประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในฐานะแม่กองธรรมสนามหลวง พร้อมด้วยพระอนุจร ๒ รูป  คือ พระมหาจินดา ฐานจินฺโต และพระมหาจรัญ สุจารโณ  เพื่อเป็นประธานเปิดสอบธรรมศึกษา ประจำปี พ.ศ.๒๕๕๔   ณ วัดศรีนครินทรวราราม  รัฐโซโลธูร์น

พ.ศ.๒๕๕๖  -  เดินทางไปประเทศสเปนพร้อมคณะ ตามคำอาราธนาของเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศสเปน เพื่อเป็นประธานสวดมนต์และเวียนเทียน เนื่องในวัน วิสาขบูชา พร้อมพบปะเยี่ยมและให้โอวาทแรงงานไทย ณ กรุงบาเซโลนา

พ.ศ.๒๕๕๗ -  เดินทางไปสหราชอาณาจักร พร้อมพระราชมุนี และพระศากยวงศ์วิสุทธิ์ เพื่อเป็นประธานผูกพัทธสีมาและฝังลูกนิมิต ณ วัดพุทธวิหารออกซฟอร์ด  และได้ทำการบรรพชาอุปสมบทกุลบุตรจำนวน ๓ คน ระหว่างวันที่ ๒๒-๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๗  และได้เยี่ยมชมการพระศาสนาในสหราชอาณาจักร พร้อมพบปะพระเถรานุเถระสายหลวงพ่อชา สุภทฺโท

                     -  เดินทางไปประเทศสาธารณรัฐเกาหลีใต้  ตามคำอาราธนาของคุณประชุม มาลีนนท์  เพื่อเป็นประธานทอดผ้ากฐิน ณ วัดพุทธรังสี โซล ระว่างวันที่ ๑๐ - ๑๕ ตุลาคม

                     เดินทางไปประเทศญี่ปุ่น ตามคำอาราธนาของคุณบุญชัย  ศรีชัยยงพานิช เพื่อเป็นประธานทอดผ้ากฐิน ณ วัดป่าพุทธรังสี โตเกียว  ระว่างวันที่ ๑-๔ พฤศจิกายน

พ.ศ.๒๕๕๘ -  เดินทางไปประเทศอินเดีย เพื่อเป็นประธานประกอบพิธีผูกพัทธสีมา ฝังลูกนิมิต และเบิกเนตรพระประธาน ณ วัดเมตตาพุทธาราม พุทธคยา รัฐพิหาร และให้การบรรพชาอุปสมบทกุลบุตร จำนวน ๑๘ คน  ระหว่างวันที่ ๑๒-๑๖ มีนาคม

พ.ศ.๒๕๕๙  -  เดินทางไปประเทศสาธารณรัฐเกาหลีใต้ พร้อมพระอนุจร ๘ รูป  ตามคำอาราธนาของเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโซล เพื่อเจริญพระพุทธมนต์ ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย พร้อมพบปะเยี่ยมและให้โอวาทแรงงานไทย  ระหว่างวันที่ ๑๒-๑๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๙

                     - เดินทางไปสาธารณรัฐสหภาพเมียนมาร์ ณ กรุงเนปิดอว์ เพื่อรับการถวายสมณศักดิ์ที่ “อัครมหาบัณฑิต” จากรัฐบาลสาธารณรัฐสหภาพเมียนมาร์ ระหว่างวันที่ ๒๑-๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๙

                     -  เดินทางไปรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา  เพื่อเป็นประธานฉลองวัดป่าธรรมชาติ ครบรอบ ๓๑ ปี และฉลองสมณศักดิ์ที่ พระราชญาณโกศล  ระหว่างวันที่ ๑๑-๑๓ มิถุนายน  และเป็นประธานผูกพัทธสีมา ฝังลูกนิมิต ณ วัดอลาสก้าญาณวราราม  เมืองแองโคเรจ  รัฐอลาสก้า  ระหว่างวันที่ ๑๖-๑๙  มิถุนายน

พ.ศ.๒๕๖๓  -  เดินทางไปสหราชอาณาจักร ตามคำอาราธนาของเอกอัครราชทูตไทย พร้อมพระศากยวงศ์วิสุทธิ์  ระหว่างวันที่  ๑๕-๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ เพื่อเยี่ยมชมการพระศาสนาในสหราชอาณาจักร           

งานสาธารณูปการ

  • เป็นประธานโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบวรนิเวศวิหาร ในพระบรมราชูปถัมภ์ ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๔๙ - พ.ศ.๒๕๕๓   รวมเป็นเงิน  ๗๙๔,๐๓๒,๗๐๗  บาท

บูรณปฏิสังขรณ์ ปี พ.ศ.๒๕๔๙

  • ศาลาอเนกประสงค์ (เขียว)                    ๑,๕๖๓,๒๗๘         บาท
  • พระตำหนักเพ็ชร                                     ๑๕,๑๐๐,๐๐๐        บาท
  • อนุรักษ์จิตรกรรม (พระอุโบสถ)              ๓,๐๐๐,๐๐๐          บาท
  • พระตำหนักทรงพรต                             ๒๒,๐๐๐,๐๐๐          บาท
  • พระตำหนักเดิม                                   ๓๐,๑๐๖,๗๒๒          บาท
  • หอสหจร                                               ๑๘,๓๐๐,๐๐๐          บาท
  • พลับพลาเปลื้องเครื่อง                            ๓,๓๕๐,๐๐๐         บาท

   รวมเป็นเงิน                                                 ๙๓,๔๒๐,๐๐๐         บาท

บูรณปฏิสังขรณ์ ปี พ.ศ.๒๕๕๐

  • ตำหนักคอยท่าปราโมช/กุฏิบริวาร          ๒๕,๕๔๕,๐๐๐          บาท
  • ประตูเสี้ยวกาง                                             ๒,๗๖๔,๐๐๐         บาท
  • พระตำหนักจันทร์                                       ๑๓,๑๑๐,๐๐๐         บาท
  • พระตำหนักปั้นหย่า                                     ๗,๓๕๐,๐๐๐          บาท
  • พระอุโบสถ                                                ๒๔,๓๗๐,๐๐๐         บาท
  • หอพระไตรปิฎก                                          ๑๑,๐๐๐,๐๐๐         บาท
  • ศาลาทรงไทยเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา  ๒,๒๗๖,๓๘๐        บาท
  • ศาลาวชิรญาณวัดบวรนิเวศวิหาร ๑๕๐ ปี     ๖,๒๕๐,๐๐๐         บาท
  • หมู่กุฏิทรงไทย ๓ หลัง (ท้ายคณะกุฏิ)         ๑๑,๙๙๑,๐๐๐        บาท
  • หอเสวย                                                         ๓,๔๙๐,๐๐๐         บาท
  • วิหารเก๋ง                                                     ๑๕,๙๙๐,๐๐๐         บาท
  • วิหารพระศาสดา                                        ๒๓,๙๙๐,๐๐๐         บาท
  • พระอุโบสถคณะรังสีสุทธาวาส                  ๑๗,๖๐๐,๐๐๐         บาท
  • ศาลาประดิษฐานพระพุทธบาท                     ๕,๕๐๐,๐๐๐         บาท
  • ศาลาการเปรียญ                                       ๑๐,๔๙๐,๐๐๐          บาท
  • บูรณะกำแพงวัดบวรนิเวศวิหาร                   ๔,๖๑๐,๐๐๐          บาท
  • พระเจดีย์                                                   ๘๙,๕๑๓,๒๐๒         บาท

   รวมเป็นเงิน                                                   ๒๘๔,๘๙๓,๕๘๒         บาท

บูรณปฏิสังขรณ์ ปี พ.ศ.๒๕๕๑

  • ตำหนักล่าง                                                ๓๐,๐๐๐,๐๐๐        บาท
  • อาคารฉลองพระชันษา ๙๖ ปี                  ๕๐,๗๔๑,๒๕๐         บาท
  • งานปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค            ๖๐,๐๐๐,๐๐๐        บาท
  • งานปรับปรุงภูมิทัศน์                               ๔๔,๑๔๗,๔๐๗        บาท
  • ศาลาฤษี ๔ หลัง                                         ๒๕,๐๐๐,๐๐๐        บาท
  • พระโพธิฆระ                                             ๕,๗๒๙,๓๘๖          บาท
  • หอระฆัง                                                     ๓,๐๓๔,๙๓๒         บาท
  • ศาลาวรพรต                                              ๑,๕๐๐,๐๐๐          บาท
  • กุฏิสงฆ์ (คณะสูงรามเดชะ)                      ๑,๓๐๐,๐๐๐           บาท
  • อาคารเก็บพระ                                         ๔,๕๐๐,๐๐๐           บาท

   รวมเป็นเงิน                                               ๒๒๕,๙๕๒,๙๗๕          บาท

บูรณปฏิสังขรณ์ ปี พ.ศ.๒๕๕๒

  • ศาลาจาน                                                         ๒,๑๐๕,๔๐๒          บาท
  • ตำหนักซ้าย                                                     ๖,๓๗๕,๘๕๓          บาท
  • ค่าสำรวจออกแบบและจัดทำทะเบียนตึกภปร.  ๖,๒๒๕,๐๐๐       บาท
  • พระวิหารคณะรังสีสุทธาวาส                           ๑๐,๕๐๐,๐๐๐         บาท
  • อาคารมนุษยนาควิทยาทาน                            ๖๑,๐๐๐,๐๐๐        บาท
  • ออกแบบตกแต่งพิพิธภัณฑ์                            ๓๖,๕๙๗,๗๔๕       บาท

 และห้องสมุดเจ้าอาวาส อาคารมนุษยนาควิทยาทาน      

  • ตกแต่งภายในชั้น ๑ อาคารมนุษยนาควิทยาทาน    ๒๑,๐๐๐,๐๐๐       บาท
  • จัดหนังสือเข้าห้องสมุดและทำระบบการให้บริการ        ๒,๙๑๒,๑๕๐    บาท

 อาคารมนุษยนาควิทยาทาน                       

    รวมเป็นเงิน                                                                     ๑๓๖,๒๑๖,๑๕๐     บาท

บูรณปฏิสังขรณ์ ปี พ.ศ.๒๕๕๓

  • กุฏิคณะแดงบวร หลังละ                                            ๗,๐๐๐,๐๐๐         บาท
  • อาคารพิพิธภัณฑ์ ภปร.                                            ๑๔,๗๕๐,๐๐๐        บาท
  • ตำหนักบัญจบเบญมาและตึกพักตร์พิมลพรรณ์      ๒๗,๙๐๐,๐๐๐        บาท
  • กุฏิหอเขียว                                                                  ๓,๙๐๐,๐๐๐        บาท

   รวมเป็นเงิน                                                                  ๕๓,๕๕๐,๐๐๐           บาท

บูรณปฏิสังขรณ์ ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๕๖ - ๒๕๕๙

  • อาคารฉลองพระชันษา ๑๐๐ ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

สกลมหาสังฆปริณายก  วัดบวรนิเวศวิหาร                        ๔๐๖,๘๔๗,๘๐๖     บาท

  • หาทุนทรัพย์ตั้งมูลนิธิถวายวัดคิรีวิหาร จังหวัดตราด จำนวน  ๔,๐๐๐,๐๐๐  บาท
  • หาทุนทรัพย์ก่อสร้าง และบูรณปฏิสังขรณ์วัดคิรีวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดตราด ดังนี้
  • บูรณะก่อสร้างโรงอุโบสถ จำนวน                                     ๔,๐๐๐,๐๐๐     บาท
  • เจดีย์ จำนวน                                                                      ๙,๐๐๐,๐๐๐     บาท
  • วิหารพระพุทธอุดมสมบูรณ์ จำนวน                                 ๒๕,๐๐๐,๐๐๐     บาท
  • กุฏิธัมมสารอุทิศ จำนวน                                                    ๑,๒๐๐,๐๐๐     บาท
  • กุฏินิรมิตสามัคคี จำนวน                                                   ๒,๐๐๐,๐๐๐     บาท
  • กุฏิหน้าโรงอุโบสถ ๒ หลัง จำนวน                                    ๑,๔๐๐,๐๐๐     บาท
  • ตำหนักสมเด็จพระเทพฯ จำนวน                                       ๘,๐๐๐,๐๐๐     บาท
  • ศาลาการเปรียญ จำนวน                                                   ๘,๐๐๐,๐๐๐     บาท
  • หอระฆังข้างโรงอุโบสถ จำนวน                                            ๗๐๐,๐๐๐     บาท
  • ศาลาปฏิบัติธรรม จำนวน                                                ๓๕,๐๐๐,๐๐๐     บาท
  • หมู่กุฏิทรงไทย จำนวน                                                     ๑๐,๐๐๐,๐๐๐     บาท
  • ฌาปนสถาน จำนวน                                                       ๑๙,๓๑๕,๔๒๐     บาท
  • กำแพงรอบวัด จำนวน                                                      ๓,๔๗๖,๔๙๘     บาท
  • หาทุนทรัพย์บูรณปฏิสังขรณ์วัดวรดิตถาราม จังหวัดตราด  จำนวน ๒,๐๐๐,๐๐๐  บาท
  • หาทุนทรัพย์ก่อสร้างกุฏิสงฆ์ ณ วัดเชียงทอง หลวงพระบาง  ประเทศลาวจำนวน  ๒,๕๐๐,๐๐๐  บาท  
  • เป็นประธานจัดหาทุนทรัพย์สร้างพระอุโบสถวัดตรีทศเทพ กรุงเทพมหานคร
  • เป็นประธานดำเนินงานจัดหาทุนทรัพย์ก่อสร้างวัดวชิรธรรมาราม ตำบลหันสัง  อำเภอ บางประหัน  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • จัดตั้งทุนฌาปนกิจสงเคราะห์ ณ วัดตรีทศเทพ กรุงเทพมหานคร
  • หาทุนทรัพย์ช่วยสร้างตึกวชิรญาณวงศ์, ตึกสามัคคีพยาบาร, และตึก ภปร. ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  • หาทุนทรัพย์ช่วยซื้อที่ดินสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
  • หาทุนทรัพย์สร้างตึกสกลมหาสังฆปรินายก หลังที่ ๑๕ โรงพยาบาลตราด
  • เป็นประธานดำเนินการหาทุนทรัพย์เพื่อซื้อเครื่องมือแพทย์ให้โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี   จำนวน ๒๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
  • เป็นประธานดำเนินการหาทุนทรัพย์สร้างอาคารเรียน ๒ หลัง อาคารโรงยิม และปรับภูมิ-ทัศน์ โรงเรียนวัดคิรีวิหาร  อำเภอเมืองตราด  จังหวัดตราด
  • เป็นประธานดำเนินงานจัดหาทุนทรัพย์ก่อสร้างวัดรัตนวนาราม ตำบลบ่อพลอย  อำเภอ บ่อไร่  จังหวัดตราด

ศึกษาสงเคราะห์

  • อุปถัมภ์นักเรียนโรงเรียนประถมวัดคิรีวิหาร และโรงเรียนมัธยมคิรีเวศน์รัตนูปภัมถ์                  จังหวัดตราด เป็นครั้งคราว
  • แจกทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนโรงเรียนวัดบวรนิเวศ กรุงเทพมหานคร
  • มอบทุนการศึกษาให้นักเรียนโรงเรียนวัดบวรนิเวศ โรงเรียนเทพศิรินทราวาส และโรงเรียนรอบปริมณฑล
  • มอบทุนให้แก่พระภิกษุผู้ป่วย และผู้ป่วยต้องได้รับการดูแล ทุนละ ๕,๐๐๐ บาท ณ โรงพยาบาลตราด ทุกปี ๆ ละ ๓๒ ทุน

งานนิพนธ์

  • ธรรมเชิงปฏิบัติ
  • ธรรมทัศน์
  • ทูต
  • มองคนละมุม
  • เล่าชาดก
  • วิธีชนะแบบชาวพุทธ
  • แบก-หาบ-คอน-หาม
  • เรื่องเกี่ยวกับภิกษุณี
  • พุทธวิธีชนะความโกรธ
  • จริยาปิฎก (เล่ม ๑ - ๓)
  • พุทธวงศ์ (เล่ม ๑ - ๔)
  • คติชีวิตจากชาดก (เล่ม ๑ - ๑๒)
  • ศีลธรรมดี ชีวีมีสุข
  • โลกสงบร่มเย็นได้ด้วย ศีล
  • สร้างสรรค์ชาติด้วยความสามัคคีปรองดอง
  • พระพุทธศาสนาจำเป็นสำหรับชีวิต
  • มงคลชีวิต (เล่ม ๑-)

เกียรติคุณ

พ.ศ.๒๕๒๘  ได้รับโล่เกียรติคุณจากผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี

พ.ศ.๒๕๓๕  ได้รับตาลปัตรสภากาชาดสมนาคุณชั้นที่ ๑ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี

พ.ศ.๒๕๔๑  ได้รับเกียรติบัตรผู้ปฏิบัติศาสนกิจดีมาก  ด้านการปกครอง จากเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร  สมเด็จพระสังฆราช  สกลมหาสังฆปริณายก

พ.ศ.๒๕๔๑  ได้รับเกียรติบัตรผู้ปฏิบัติศาสนกิจดีมาก  ด้านเป็นหัวหน้าผู้ตรวจการณ์

คณะสงฆ์ ภาค ๓  จากเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

พ.ศ.๒๕๔๓  ได้รับเกียรติบัตรผู้ปฏิบัติศาสนกิจดีมาก  ด้านการปกครอง จากเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

พ.ศ.๒๕๔๔  ได้รับเกียรติบัตรผู้ปฏิบัติภารกิจพระพุทธศาสนาดีเด่น  ด้านการศึกษา จากเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

พ.ศ.๒๕๔๔  ได้รับวุฒิบัตรการฝึกอบรม โครงการพัฒนาคุณภาพบุคลากรทางการศึกษา จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

พ.ศ.๒๕๔๙  ได้รับเกียรติบัตร เป็นวิทยากรบรรยายถวายความรู้โครงการอบรมหลักสูตร พระสังฆาธิการคณะธรรมยุติ  จากโรงเรียนพระสังฆาธิการคณะธรรมยุต

พ.ศ.๒๕๕๐ ได้รับเกียรติบัตร เป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง  “ความรู้เรื่องปักขคณนา” จากโรงเรียนพระสังฆาธิการ

พ.ศ.๒๕๕๒  ได้รับปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  สาขาสังคมศาสตร์ เพื่อการพัฒนา จากมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม

พ.ศ.๒๕๕๓  ได้รับปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  สาขาวิชาพระพุทธศาสนา       จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พ.ศ.๒๕๕๔  ได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา จากมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร

พ.ศ.๒๕๕๖  ได้รับพระราชทานรางวัลอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๖ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี

พ.ศ.๒๕๕๗  ได้รับปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา  จากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

พ.ศ.๒๕๕๘ ได้รับพระราชทานเสาเสมาธรรมจักร ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศ  จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี

พ.ศ.๒๕๕๙  ได้รับการถวายสมณศักดิ์ที่ “อัครมหาบัณฑิต” จากรัฐบาลสาธารณรัฐแห่งสหภาพ
เมียนมาร์  วันที่ ๒๓ มีนาคม

พ.ศ.๒๕๕๙  ได้รับปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา จากมหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร   วันที่ ๑๑ กรกฎาคม

กรณียกิจคณะสงฆ์ (พิเศษ)

พ.ศ.๒๕๔๑     เป็นผู้ตรวจการณ์คณะสงฆ์ภาค ๓  (สิงห์บุรี, อุทัยธานี, ลพบุรี)

พ.ศ.๒๕๔๑     เป็นผู้ตรวจการณ์คณะสงฆ์ภาค ๗ ( เชียงใหม่-ลำพูน-แม่ฮ่องสอน)

พ.ศ.๒๕๔๓    เป็นประธานคณะกรรมการตำราและวิชาการ มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

พ.ศ.๒๕๔๓    เป็นผู้ตรวจการณ์คณะสงฆ์ภาค ๑๒-๑๓  (ชลบุรี-ระยอง-จันทบุรี-ตราด)

พ.ศ.๒๕๔๕    เป็นผู้ตรวจการณ์คณะสงฆ์ภาค ๘  (อุดรธานี-หนองคาย-เลย-สกลนคร)

พ.ศ.๒๕๔๖     เป็นรองประธานกรรมการฝ่ายศาสนศึกษาของมหาเถรสมาคม

พ.ศ.๒๕๔๗    เป็นผู้อำนวยการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย  ในพระบรมราชูปถัมภ์

พ.ศ.๒๕๕๑     เป็นผู้นั่งพระเสลี่ยงกลีบบัวและราชรถน้อย อ่านพระอภิธรรมนำพระศพ ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิง พระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท สู่พระเมรุ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระพรหมมุนี  เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน

พ.ศ.๒๕๕๓    เป็นประธานคณะกรรมการพิจารณางบประมาณศาสนสมบัติกลางประจำ

พ.ศ.๒๕๕๔    เป็นประธานกรรมการมูลนิธิสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร ในพระบรมราชูปถัมภ์

พ.ศ.๒๕๕๔    เป็นประธานดำเนินการจัดสร้างพระพุทธรูปปางลีลาเนื้อทองคำ ประจำพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ  ๕ ธันวาคม

พ.ศ.๒๕๕๕    เป็นผู้นั่งพระเสลี่ยงกลีบบัวและราชรถน้อย อ่านพระอภิธรรมนำพระศพ ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิง พระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี  จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท สู่พระเมรุ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง  เมื่อวันที่ ๙ เมษายน

พ.ศ.๒๕๕๖     เป็นประธานโครงการหุ้มทองคำยอดฉัตรพระมหาเจดีย์ พุทธคยา ประเทศอินเดีย

พ.ศ.๒๕๕๖     เป็นประธานกรรมการมูลนิธิแผ่นดินธรรม

พ.ศ.๒๕๕๗    เป็นประธานดำเนินการจัดสร้างพระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ  เนื่องในโอกาสพระราชพิธี มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ  ๑๒ สิงหาคม  

พ.ศ.๒๕๕๘    เป็นประธานกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลและโรงเรียนสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต จังหวัดกาญจนบุรี

พ.ศ.๒๕๕๙     เป็นผู้ตรวจแก้ฉันท์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา ๑๒ สิงหาคม  

พ.ศ.๒๕๕๙     เป็นองค์นำพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ จากโรงพยาบาลศิริราช ไปสู่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม   เวลา ๑๕.๐๐ น.

พ.ศ.๒๕๖๐     เป็นผู้นั่งพระเสลี่ยงกลีบบัวและราชรถน้อย อ่านพระอภิธรรมนำพระบรมศพ ในพระราชพิธีถวายพระเพลิง พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท สู่พระเมรุมาศ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง  เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม

สมณศักดิ์

พ.ศ.๒๕๑๗     รับพระราชทานสมณศักดิ์  เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระอมรโมลี

พ.ศ.๒๕๓๑     รับพระราชทานสมณศักดิ์  เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่  พระราชสุมนต์มุนี

พ.ศ.๒๕๓๕    รับพระราชทานสมณศักดิ์  เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่  พระเทพกวี

พ.ศ.๒๕๔๑     รับพระราชทานสมณศักดิ์  เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่  พระธรรมกวี

พ.ศ.๒๕๔๓    รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์  เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏที่  พระพรหมมุนี

พ.ศ.๒๕๕๒    รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏที่ สมเด็จพระวันรัต   ศรีวชิรญาณวงศวิวัฒ ปริยัติพิพัฒนพงศ์ วิสุทธิสงฆปริณายก ตรีปิฎกโกศล วิมลคัมภีรญาณสุนทร ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี

ข้อมูลปี พ.ศ. ๒๕๖๓